ReadyPlanet.com


ขอบคุณและรบกวนสอบถามครับ
avatar
Bluefin


เรียน คุณต้น

ขอบคุณมากครับ ถ้าผมได้เริ่มต้นปลูกกาแฟคงต้องรบกวนอีกมากเลยครับ คงต้องรบกวนสอบถามคร่าวๆดังนี้ครับ เดิมทีผมมีธุกิจหลักทางด้านพลาสติก แต่มีความชอบทางเกษตรเป็นการส่วนตัวและตอนนี้เริ่มมีเงินทุนอยู่ก้อนหนึ่ง จึงคิดอยากจะทำการเกษตร เดิมทีมองพืชที่คิดจะปลูกไว้คือพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมาก เพราะเราไม่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอ จึงมองไว้สามสีชนิดดังนี้ครับ

 

1.ยาง คิดว่าจะปลูกร่วมกับกล้วย

2.กาแฟ คิดว่าจะปลูกร่วมกับสะตอ

 

ผมมีความรู้ในเชิงปฏิบัติเรียกว่าเป็นศูนย์เลยก็ว่าได้ครับ เพราะความรู้ส่วนใหญ่เกิดจากการอ่านหนังสือและได้จากอินเตอร์เน็ต เลยอยากจะสอบถามคร่าวๆดังนี้ครับ

 

1. ขนาดของสวนกาแฟที่สามารถเลี้ยงชีพได้อย่างเพียงพอควรมีขนาดสวนประมาณกี่ไร่ครับ และสวนกาแฟขนาดกี่ไร่ถึงมีศักยภาพในการต่อรองราคาขายเมล็ดกาแฟได้ครับ

2. พื้นที่จังหวัดที่เหมาะสมในการปลูก ที่มีความสะดวกในเรื่องการขนส่ง และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆได้สะดวก เดิมทีผมมองจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรีไว้เพราะมีความความชอบเป็นการส่วนตัว แต่ไม่แน่ใจว่าเหมาะสมหรือไม่

3. จำนวนเงินลงทุนต่อไร่ และจำนวนเงินที่หล่อเลี้ยงสวนจนกว่าจะถึงเวลาเก็บเกี่ยว และระยะเวลาคืนทุน

 

ผมคงต้องรบกวนคุณต้นเท่านี้ก่อนนะครับ และเมื่อผมจัดหาที่ทางได้เรียบร้อยคงต้องสอบถามคุณต้นเพิ่มเติมอีกครั้ง และสุดท้ายผมขอชื่นชมคุณต้นที่ได้ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปโดยไม่มีปิดบัง และยังสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันในสังคม หากในสังคมมีคนอย่างคุณต้นมากๆผมเชื่อว่าสังคมของเราคงจะน่าอยู่และร่มเย็นเป็นสุขมากๆครับ

 

ปล.ผมจะโพสฝากคำถามไว้ในเวบด้วยนะครับเผื่อเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นที่สนใจเช่นผม และหากไม่รบกวนคุณต้นเกินไปฝากคุณต้นตอบผ่านทางเมล์ผมด้วยนะครับ 

 

ขอแสดงความนับถือ

 

บรรพต



ผู้ตั้งกระทู้ Bluefin กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-27 11:10:36 IP : 125.27.238.84


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2113826)
avatar
ต้น ทวยเทพฯ

สวัสดีครับคุณบรรพต...  ยกยอผมเสียจนเขิลล์...บิดไปบิดมาอยู่หลายวัน...

เข้าเรื่องดีกว่านะครับ....

การเกษตรนั้นเป็นการบริหารจัดการต้นไม้อันเป็นสิ่งมีชีวิต  ดังนั้น คงจะบอกว่าไม่ต้องดูแลเสียเลยคงจะเป็นไปไม่ได้ครับ  คงจะต้องเอาใจใส่กันพอสมควร มากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่ความต้องการของต้นไม้ต่างชนิด..

๑ การปลูกต้นยางพารา และกล้วย เป็นoption ที่ดีพอสมควรสำหรับคนมีเวลาไม่มากนัก... ต้นกล้วยให้ผลในประมาณเดือนที่ ๑๘ และเรื่อยไปจนกว่าพุ่มต้นยางจะบดบังแสงเกินกว่า ๔๐ %  แต่กว่าจะถึงป่านนั้น  ต้นยางก็เริ่มๆ จะมีน้ำยางพอให้กรีดบ้างแล้ว.....

๒ ส่วนการปลูกกาแฟกับสะตอนั้นก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับพื้นที่ชุ่มชื้นครับ... เรื่องการปลูกหรือราคาสะตอนั้นผมไม่มีความรู้เท่าไร  แต่เห็นว่าราคาสูงอยู่พอสมควรทีเดียว 

สำหรับพื้นที่บริเวณจังหวัดลพบุรีนั้นจะแห้งแล้งเสียหน่อย  เว้นแต่บริเวณที่อยู่ใกล้กับเพชรบูรณ์ ก็พอชุ่มชื้นขึ้นมาบ้าง  ส่วนเพชรบูรณ์ ก็แล้วแต่พื้นที่นะครับ ส่วนดีคือใกล้กรุงเทพดีครับ  ง่ายต่อการขนส่ง และการขึ้นไปดูแล(หากนิวาสถานอยู่กรุงเทพ)  และราคที่ดินยังไม่แพงมากเท่าไรนัก...

หากเลือกสองจังหวัดนี้... ต้องพิจารณาแหล่งน้ำเป็นสำคัญครับ...   ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอในหน้าแล้ง

 

๑. และ ๒. รวมตอบนะครับ

ในการเลือกปลูกกาแฟ เนื่องจากกาแฟเป็นพืชอุตสาหกรรม ที่มีราคากลางค่อนข้างเดียวกันทั่วประเทศ ไม่ว่าเราจะปลูกมากปลูกน้อย การที่เจ้าของสวนสวนเดียวจะเป็นผู้กำหนดราคา คงเป็นไปไม่ได้ครับ  ราคาคงขึ้นลงตามกลไกตลาด  แต่หากเราแปรรูปดีๆ แล้วเก็บกาแฟไว้ขายช่วงกลางปี(พ.ค.-ก.ย.)  ราคากาแฟก็จะดีพอสมควรทีเดียวครับ    

การทำการเกษตรไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมายนัก  สักสิบไร่ยี่สิบไร่ก็โอเคแล้วครับ   หากลงทุนมากในพื้นที่ใหญ่ๆ ในเบื้องต้น  ปัญหาก็มากมายตามขนาดพื้นที่ที่ปลูก  ยิ่งถ้าไม่มีประสบการณ์หรือความชำนิชำนาญมาก่อน  ทำอย่าให้เกินสิบไรยี่สิบไร่ยิ่งดีครับ  จนพอมีความรู้มีประสบการณ์บ้าง  ค่อยขยายก็ไม่ช้าไป   เรื่องลงทุนใหญ่ แล้วเจ็บหนัก... ครอบครัวของผมผ่านมาแล้วในการปลูกกาแฟช่วงแรกๆ ครับ ลดพื้นที่จากเจ็ดแปดสิบไรลงมาเหลือเพียงสี่สิบไร่  แล้วพอชำนาญ ก็ค่อยๆ ขยายจนมาเป็นร้อยไร่ในปัจจุบัน

และหากเลือกปลูกกาแฟในสองจังหวัดที่ว่า  ผมขอนุญาตฟันธงว่าปลูกโรบัสต้าดีกว่าแน่นอนครับ  ยิ่งถ้าไม่ได้พำนักอาศัยอยู่ในสวนเองด้วยแล้ว  โรบัสต้าง่ายกว่าเยอะครับ  การปลูกกาแฟอราบิก้าเหมือนกับการเลี้ยงเด็ก...ต้องเอาใจใส่พอสมควร

๓. จำนวนเงินลงทุนต่อไร่นั้น  ตอบยากจริงๆ ครับ  เพราะจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่  ความอุดมสมบูรณ์ของดินเอย  ความชื้นเอย เป็นปัจจัยที่แตกต่างกันทั้งสิ้น  เอาเป็นว่า ราคาต้นพันธ์กาแฟ รวมค่าขนส่ง ไม่เกิน ๑๐ บาทต่อต้น  อราบิก้าปลูก ๔๐๐ ต้นต่อไร่ โรบัสต้าปลูก ๓๐๐ ต้นต่อไร่  ปุ๋ยก็แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่  ระบบน้ำก็แล้วแต่การวางระบบ ค่าแรงคนงานก็ขึ้นลงอยู่แต่ละพื้นที่ครับ...    การปลูกกาแฟจะได้ขายผลผลิตจริงๆ ก็ปีที่ ๔ ที่ ๕ แหละครับ...  ที่ต้องเตรียมเป็นหลักก็คือค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าแรง  ค่าน้ำมันตัดหญ้า ค่าปุ๋ย(ปีละสามสี่ครั้ง)

ลองพิจาณาดูนะครับ...  หากต้องการข้อมูลใดเพิ่มเติม  ก็สอบถามเพิ่มเติมมาได้เลย...  ยินดีตอบทุกคำถามด้วยความยินดียิ่งครับ...

ผู้แสดงความคิดเห็น ต้น ทวยเทพฯ (boss-at-thecoffeecartel-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-29 18:08:14 IP : 124.122.254.239


ความคิดเห็นที่ 2 (2113864)
avatar
Bluefin

ขอบคุณครับคุณต้น ได้ความกระจ่างขึ้นมากครับ แต่ผมยังติดที่ราคาและขนาดพื้นที่ปลูกครับ เนื่องจากผมเห็นมีหลายคนในเน็ตพูดว่าถูกกดราคากาแฟจึงต้องหาลู่ทางคั่วเอง จึงรบบกวนขอถามเพิ่มเติมนะครับ

1.ถ้าตามที่คุณต้นว่าในบ้านเรามีราคากลางเป็นกาแฟสดหรือต้องคั่วแล้วครับ

2. ผมเคยเห็นคุณต้นแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟควรมีโรงคั่วกาแฟของตนเองด้วย ในส่วนนี้จำเป็นมากน้อยขนาดไหนครับ และมีผลดีอย่างไร รวมทั้งต้องลงทุนอะไรบ้างครับในส่วนนี้

3.ลักษณะสวนที่ผมวางกาแฟเป็นไม้เอกและสะตอเป็นไม้รอง ควรวางพื้นที่สวนระหว่างต้นห่างกันขนาดไหนครับ และหากผมคิดที่จะปลูกผสมผสานไม้ทั้งสี่เข้าในพื้นที่เดียวจะให้ผลดีหรือเสียอย่างไร

4.ระบบน้ำควรใช้ระบบเป็นน้ำหยดในสวนไหมครับ ผมเคยเดินระบบน้ำในสวนขนาดสองไร่ของตนเองเห็นว่าการใช้ท่อพีอีและต่อหัวน้ำหยดทำได้สะดวกกว่าการใช้พีวีซีและหัวสปริงเกอร์มากๆครับ และยังดูแลง่ายและเสียหายยากกว่า

5.ผมเคยอ่านบทความหลายครั้งเรื่องการเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง ประเภทม้าหรือแพะ ช่วยกำจัดวัชพืช และยังช่วยประหยัดค่าปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์โดยตรง และยังทำให้ผลผลิตดีขึ้นนั้น สามารถนำมาประยุกซ์ใช้ได้ไหมครับ และจะส่งผลอย่างไรกับกาแฟ ซึ่งผมกลัวว่าม้าหรือแพะที่นำมาเลี้ยงจะเปลี่ยนเป็นกินใบและผลกาแฟแทนวัชพืช รวมถึงเหยียบต้นกาแฟได้รับความเสียหายแทน

ผมคงรบกวนคร่าวๆเท่านี้ก่อน และยังไงคงต้องมารบกวนคุณต้นจริงๆจังๆอีกครั้งแน่นอนครับ และขอขอบคุณคุณต้นอีกครั้งมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Bluefin ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-29 20:21:10 IP : 202.176.132.123


ความคิดเห็นที่ 3 (2114026)
avatar
ต้น ทวยเทพฯ

ด้วยความเคารพ ต่อทุกความเห็น   แต่ผมเห็นตรงกันข้ามครับ...

ผมเห็นว่า การบอกว่าโดนกดราคาแล้วคั่วกาแฟเองเพื่อขายนั่นคือกลเม็ดมาร์เก็ตติ้งแบบเรียกคะแนนสงสารที่ใช้ไม่ได้ตะหาก

กาแฟนิดที่ขึ้นชื่อว่ารสชติดี เป็นที่ต้องการ และราคาแพง อย่าง Kenya เกรด AA  ในตลาดโตเกียวอันเป็นตลาดปลายทางของผู้ซื้อ นั้นราคาตกกิโลกรัมละไม่ถึงแปดสิบบาท.....

ในขณะที่ กาแฟเลวๆ (ย้ำนะครับ กาแฟเลว ที่หมักน้ำโดยไม่ล้าง มีเศษดินเศษหินปน มีกาแฟเน่าๆ ปน) บนดอยต่างๆ ของประเทศไทย ราคากิโลกรัมละร้อยยี่สิบบาท กาแฟที่ตั้งใจทำ กิโลกรัมละ ร้อยยี่สิบห้าบาท    ดังนี้จะเรียกว่ากาแฟโดนกดราคาหรือครับ....

ที่เป็นแบบนี้..  เพราะข้าราชการไทยยัง"หลังเขา"อยู่ครับ...  วันหลังเชิญมานั่งดื่มกาแฟคุยกันที่ร้าน... แล้วผมจะเล่าให้ฟังโดยละเอียดแบบไม่หวงภูมิทีเดียวนะ....

ตอบคำถามคุณบรรพตดีกว่าครับ... ไม่งั้นเดี๋ยวผมปี๊ดดดดดขึ้น  แล้วจะเคืองผมเอา  ;)

๑ คำถามแรก  ราคากลาง  คือราคา "สารกาแฟ"ครับ  สารกาแฟคือกาแฟที่สีเอากะลาออกแล้วแต่ยังไม่คั่ว

๒ ผมแนะนำให้เกษตรกรมี"เครื่องสีกาฟ"เป็นของตัวเองครับ.. ไม่แนะนำให้มีเครื่องคั่วกาแฟ และไม่แนะนำให้คั่วกาแฟขายด้วย... 

อย่าเพิ่งแปลกใจนะครับ... ที่ผมว่าแบบนี้... เพราะการคั่วกาแฟไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญมากพอสมควร ผมเอง กว่าจะพอมีฝีมือในการคั่วกาแฟได้ในระดับอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่าสิบห้าปี (ถ้านับถึงวันนี้ก็มากกว่ายี่สิบห้าปีแล้วครับที่เริ่มคั่วกาแฟมา)  ..... หากเกษตรกรเริ่มต้นลงทุนกับเครื่องมือเครื่องไม้ที่ราคาหลายแสน...และเริ่มต้นหัดคั่วกาแฟ  focus ก็จะเพี้ยน กลายเป็นเป็ดไป..ทำอะไรได้หลายอย่าง.. แต่ไม่ได้ดีสักอย่าง....

ไม่ใช่ว่าผมจะขัดแข้งขัดขาใครหรอกนะครับ... หากมีโอกาสได้ผูกมิตรกับเกษตรกรที่คั่วกาแฟขาย(อันมีอยู่มากมายในภาคเหนือของไทย..ที่ได้รับงบสนับสนุนเครื่องคั่วกาแฟจากทางราชการบ้าง ทางเอ็นจีโอหรือองค์กรต่างๆ บ้าง)ในระดับที่พูดคุยกันได้อย่างเปิดอกแล้วไซร้.... ก็จะบอกว่า.. "ยอมแพ้"

ผมเชื่อว่า... ทำอะไรทำให้เก่ง ทำให้ชำนาญแต่อย่างเดียว ให้ผลผลิตของงานที่ทำโดดเด่นขึ้นมา จะง่ายกว่าเป็นเป็ดเหมือนผม..ที่เหนื่อยสายตัวแทบขาด... และล้มลุกคลุกคลานมาตลอดชีวิตครับ...  ด้วยความสัตย์จริง

๓  การปลูกไม้ทั้งสี่อย่างผสมผสานกัน..

การปลูกต้นยางพาราในสวนกาแฟจะร่มเกินไปภายหลังจากเปีที่สิบกว่าๆ ครับ ร่มจะมืด และต้นกาแฟจะบ้าใบ ไม่ให้ผลผลิตเท่าที่ควร  กล้วยนั้น ก็พอปลูกได้อยู่ครับ  แต่สี่ห้าปีก็ต้องฟันทิ้งเพราะกอกล้วยล้มสร้างความเสียหายให้กับต้นกาแฟ...  แต่ในช่วงแรกนับว่าดีครับ  เพราะกล้วยนั้นขึ้นชื่ว่าเรียกควมชื้นให้กับดิน  และปกคลุมดินได้อย่างดี

เป็นอันว่า ปลูกกาแฟระยะห่าง สองคูณสอง  โดยแทรกสะตอลงในระยะ แปดคูณสิบ เป็นหลัก  แล้วปลูกกล้วย(ไม่เกิน ๕ ปีแรก)ข้างๆ สะตอ ก็พอได้ครับ... ถ้าจะปลูกกล้วยถี่กว่านั้นในช่วงแรกก็ได้  แต่จะเสียพื้นที่ปลูกกาแฟไปบ้าง  แล้วค่อยลงกาแฟหลังจากฟันกล้วยทิ้งแล้วก็ยังได้

๔ ใบบน้ำหยดเข้าท่าที่สุดครับ...  ผมเริ่มต้นจากท่อพีวีซี  ซึ่งเฟลืองน้ำ... ราคาแพง... แตกหักเสียหายได้ง่ายดายมากๆ  แล้วถึงเปลี่ยนเป็นระบบน้ำหยดซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเยี่ยมกู๊ด

๕ ว่าด้วยการเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง... ดีมากครับ... สวนสะตอ...ยิ่งดีครับ.... แต่ในสวนกาแฟ... "ห้ามเด็ดขาด"

เพราะทั้งวัว แพะ และสัตว์กินพืช จะกินใบและผลกาแฟเป็นอาหาร (จำนวนต้นกาแฟในสวนทศเทพในช่วงแรกลดลงจากสองหมื่นต้นเหลือหกพันต้นในระยะเวลาสองปีนับแต่เราเลี้ยงวัว ๑๐ ตัวโดยหวังว่าจะอาศัยได้กินหญ้าและเอามูลทำปุ๋ยนี่แหละครับ)  ยิ่งถ้าเป็นวัวแล้ว... พอน้องวัวโดนยุงกัด โดนริ้นกัด คันเอวคันหลังขึ้นมา... ก็จะยะ ถู... ถู... ถู... หลังถูเอวกับต้นกาแฟ หักราพนาสูรญ์ไปตามๆ กัน....

ช่วงปี ๒๕๓๐ - ๒๕๓๒ เราเลี้ยงวัวครับ...  เรียนตามตรงว่า เข็ด... เหอเหอ  

ดั้งนั้น.. อย่างที่คณกลัวนั้นถูกต้องแล้วครับ....   นับเป็นความสยองของชาวสวนกาแฟทีเดียว...

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ต้น ทวยเทพฯ (boss-at-thecoffeecartel-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-30 13:11:53 IP : 124.122.254.239


ความคิดเห็นที่ 4 (2114027)
avatar
ต้น ทวยเทพฯ

ด้วยความเคารพ ต่อทุกความเห็น   แต่ผมเห็นตรงกันข้ามครับ...

ผมเห็นว่า การบอกว่าโดนกดราคาแล้วคั่วกาแฟเองเพื่อขายนั่นคือกลเม็ดมาร์เก็ตติ้งแบบเรียกคะแนนสงสารที่ใช้ไม่ได้ตะหาก

กาแฟนิดที่ขึ้นชื่อว่ารสชติดี เป็นที่ต้องการ และราคาแพง อย่าง Kenya เกรด AA  ในตลาดโตเกียวอันเป็นตลาดปลายทางของผู้ซื้อ นั้นราคาตกกิโลกรัมละไม่ถึงแปดสิบบาท.....

ในขณะที่ กาแฟเลวๆ (ย้ำนะครับ กาแฟเลว ที่หมักน้ำโดยไม่ล้าง มีเศษดินเศษหินปน มีกาแฟเน่าๆ ปน) บนดอยต่างๆ ของประเทศไทย ราคากิโลกรัมละร้อยยี่สิบบาท กาแฟที่ตั้งใจทำ กิโลกรัมละ ร้อยยี่สิบห้าบาท    ดังนี้จะเรียกว่ากาแฟโดนกดราคาหรือครับ....

ที่เป็นแบบนี้..  เพราะข้าราชการไทยยัง"หลังเขา"อยู่ครับ...  วันหลังเชิญมานั่งดื่มกาแฟคุยกันที่ร้าน... แล้วผมจะเล่าให้ฟังโดยละเอียดแบบไม่หวงภูมิทีเดียวนะ....

ตอบคำถามคุณบรรพตดีกว่าครับ... ไม่งั้นเดี๋ยวผมปี๊ดดดดดขึ้น  แล้วจะเคืองผมเอา  ;)

๑ คำถามแรก  ราคากลาง  คือราคา "สารกาแฟ"ครับ  สารกาแฟคือกาแฟที่สีเอากะลาออกแล้วแต่ยังไม่คั่ว

๒ ผมแนะนำให้เกษตรกรมี"เครื่องสีกาฟ"เป็นของตัวเองครับ.. ไม่แนะนำให้มีเครื่องคั่วกาแฟ และไม่แนะนำให้คั่วกาแฟขายด้วย... 

อย่าเพิ่งแปลกใจนะครับ... ที่ผมว่าแบบนี้... เพราะการคั่วกาแฟไม่ใช่เรื่องง่ายนัก  ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญมากพอสมควร ผมเอง กว่าจะพอมีฝีมือในการคั่วกาแฟได้ในระดับอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่าสิบห้าปี (ถ้านับถึงวันนี้ก็มากกว่ายี่สิบห้าปีแล้วครับที่เริ่มคั่วกาแฟมา)  ..... หากเกษตรกรเริ่มต้นลงทุนกับเครื่องมือเครื่องไม้ที่ราคาหลายแสน...และเริ่มต้นหัดคั่วกาแฟ  focus ก็จะเพี้ยน กลายเป็นเป็ดไป..ทำอะไรได้หลายอย่าง.. แต่ไม่ได้ดีสักอย่าง....

ไม่ใช่ว่าผมจะขัดแข้งขัดขาใครหรอกนะครับ... หากมีโอกาสได้ผูกมิตรกับเกษตรกรที่คั่วกาแฟขาย(อันมีอยู่มากมายในภาคเหนือของไทย..ที่ได้รับงบสนับสนุนเครื่องคั่วกาแฟจากทางราชการบ้าง ทางเอ็นจีโอหรือองค์กรต่างๆ บ้าง)ในระดับที่พูดคุยกันได้อย่างเปิดอกแล้วไซร้.... ก็จะบอกว่า.. "ยอมแพ้"

ผมเชื่อว่า... ทำอะไรทำให้เก่ง ทำให้ชำนาญแต่อย่างเดียว ให้ผลผลิตของงานที่ทำโดดเด่นขึ้นมา จะง่ายกว่าเป็นเป็ดเหมือนผม..ที่เหนื่อยสายตัวแทบขาด... และล้มลุกคลุกคลานมาตลอดชีวิตครับ...  ด้วยความสัตย์จริง

๓  การปลูกไม้ทั้งสี่อย่างผสมผสานกัน..

การปลูกต้นยางพาราในสวนกาแฟจะร่มเกินไปภายหลังจากเปีที่สิบกว่าๆ ครับ ร่มจะมืด และต้นกาแฟจะบ้าใบ ไม่ให้ผลผลิตเท่าที่ควร  กล้วยนั้น ก็พอปลูกได้อยู่ครับ  แต่สี่ห้าปีก็ต้องฟันทิ้งเพราะกอกล้วยล้มสร้างความเสียหายให้กับต้นกาแฟ...  แต่ในช่วงแรกนับว่าดีครับ  เพราะกล้วยนั้นขึ้นชื่ว่าเรียกควมชื้นให้กับดิน  และปกคลุมดินได้อย่างดี

เป็นอันว่า ปลูกกาแฟระยะห่าง สองคูณสอง  โดยแทรกสะตอลงในระยะ แปดคูณสิบ เป็นหลัก  แล้วปลูกกล้วย(ไม่เกิน ๕ ปีแรก)ข้างๆ สะตอ ก็พอได้ครับ... ถ้าจะปลูกกล้วยถี่กว่านั้นในช่วงแรกก็ได้  แต่จะเสียพื้นที่ปลูกกาแฟไปบ้าง  แล้วค่อยลงกาแฟหลังจากฟันกล้วยทิ้งแล้วก็ยังได้

๔ ใบบน้ำหยดเข้าท่าที่สุดครับ...  ผมเริ่มต้นจากท่อพีวีซี  ซึ่งเฟลืองน้ำ... ราคาแพง... แตกหักเสียหายได้ง่ายดายมากๆ  แล้วถึงเปลี่ยนเป็นระบบน้ำหยดซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเยี่ยมกู๊ด

๕ ว่าด้วยการเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง... ดีมากครับ... สวนสะตอ...ยิ่งดีครับ.... แต่ในสวนกาแฟ... "ห้ามเด็ดขาด"

เพราะทั้งวัว แพะ และสัตว์กินพืช จะกินใบและผลกาแฟเป็นอาหาร (จำนวนต้นกาแฟในสวนทศเทพในช่วงแรกลดลงจากสองหมื่นต้นเหลือหกพันต้นในระยะเวลาสองปีนับแต่เราเลี้ยงวัว ๑๐ ตัวโดยหวังว่าจะอาศัยได้กินหญ้าและเอามูลทำปุ๋ยนี่แหละครับ)  ยิ่งถ้าเป็นวัวแล้ว... พอน้องวัวโดนยุงกัด โดนริ้นกัด คันเอวคันหลังขึ้นมา... ก็จะยะ ถู... ถู... ถู... หลังถูเอวกับต้นกาแฟ หักราพนาสูรญ์ไปตามๆ กัน....

ช่วงปี ๒๕๓๐ - ๒๕๓๒ เราเลี้ยงวัวครับ...  เรียนตามตรงว่า เข็ด... เหอเหอ  

ดั้งนั้น.. อย่างที่คณกลัวนั้นถูกต้องแล้วครับ....   นับเป็นความสยองของชาวสวนกาแฟทีเดียว...

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ต้น ทวยเทพฯ (boss-at-thecoffeecartel-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-30 13:12:07 IP : 124.122.254.239


ความคิดเห็นที่ 5 (2114053)
avatar
Bluefin

ขอบคุณครับคุณต้น ได้ความกระจ่างขึ้นมากเลยครับ ตอนนี้ผมได้เริ่มต้นมองหาที่ทางและวางแผนเรื่องงบประมาณครับ คงจะเริ่มต้นแบบเล็กๆตามที่คุณต้นแนะนำไปก่อน เพราะอย่างที่บอกครับความรู้ในเชิงปฏิบัติผมเรียกได้ว่าเป็นศูนย์และหากได้เริ่มต้นเป็นรูปเป็นร่างถ้าไม่คิดบวชไม่สึกเสียก่อนคงเรียกว่าเพิ่งได้เรียน ก ไก่ เท่านั้น :)

และขอบคุณที่เชิญผมไปนั่งดื่มกาแฟคุยกันที่ร้านนะครับ คิดว่าถ้ามีโอกาสคงได้ไปรบกวนครับ และผมยังคงย้ำคำเดิมครับว่าผมอยากให้มีคนอย่างคุณต้นมากๆในบ้านเรา เพราะผมเชื่อว่าหากสังคมเราอยู่ด้วยการแบ่งปันเกื้อกูลกัน อยู่ด้วยความพอเพียง มิใช่แย่งกันชิงดีชิงเด่นกัน แล้วสังคมไทยจะเจริญเติบโตอย่างมั่นคงด้วยความสงบร่มเย็น ไม่แพ้ชาติไหนในโลก ขอบคุณจากใจอีกครั้งครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Bluefin ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-30 14:47:54 IP : 118.174.114.171


ความคิดเห็นที่ 6 (2114140)
avatar
ต้น ทวยเทพฯ

พิมพ์ผิดพิมพ์ตก  ขออนุญาตยกเว้นนะครับ...

คีบอร์ดมีปัญหา....

 

แล้วก็ ,,, ขออนุญาตเขินจากใจจริงอีกครั้ง... เช่นกันครับ.... ;)

ผู้แสดงความคิดเห็น ต้น ทวยเทพฯ (boss-at-thecoffeecartel-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2010-09-30 19:07:29 IP : 124.121.175.138



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.