...สวนทศเทพ เป็นสวนกาแฟอราบิก้าเอกชนลำดับที่ 4 ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนม่อน (เนินดินหรือเนินเขาเตี้ยๆ)ปลายท้องนาเชิงภูเขาสูงของจังหวัดเชียงราย มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 650เมตร ตั้งอยู่บนตะเข็บระหว่างอำเภอเมือง กับอำเภอแม่จัน สวนทศเทพเป็นต้นกาแฟพันธุ์ Arabica Var. Catimor 528/26 เจเนอเรชั่น(F)ที่เหลืออยู่สวนเดียว เพราะเป็นพันธุ์กาแฟที่มีช่อดอก-และช่อผลห่างไม่ดกเท่าที่ควร ผลผลิต ต่อต้นต่อไร่เพียง 1ใน 3องสายพันธุ์ย่อย ส่วนราชการจึงหันไปสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพันธุ์อื่นๆต่อไปพันธุ์นี้จึงสาบสูญไปจากประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2530....
...พื้นที่ของสวน ส่วนที่โหดร้ายสำหรับต้นกาแฟที่สุดคือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์มีแสงแดดจัดไม่มีร่มเงา ต้นกาแฟเหล่านี้แม้จะมีอายุ 4-5 ปี แล้วก็อยู่ในสภาพแคระแกรน การปรับปรุงบำรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น โดยการแซมมูลวัวไปบริเวณโคนต้นระหว่างต้นกาแฟนั้น สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาพันธุ์ที่สวนทศเทพ นี้เอง ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Arabica var. Cartimor Ex. Nanglea มีลักษณะเด่นคือ คงความหอมของสายพันธุ์ 528/26 เดิมไว้ แต่ให้ผลผลิตที่ดกกว่า เนื่องจากข้อชิดกันมากขึ้น จำนวนข้อกาแฟต่อกิ่งมากขึ้น จำนวนข้อกาแฟต่อกิ่งมากขึ้นที่สำคัญคือผลกาแฟสุกพร้อมๆกัน โดยในแต่ละต้น ผลจะสุกให้เก็บเกี่ยวผลไม่เกิน 4 ครั้ง ประหยัดแรงงาน ในการเก็บเกี่ยวกว่าเดิมมาก(พันธุ์เดิมนั้นจะต้องทยอยเก็บถึง 6 ครั้งเลยทีเดียว).....
>>การเริ่มต้นทำสวนกาแฟที่ดีนั้น จะต้องเริ่มด้วยการคัดเมล็ดพันธุ์จากต้นกาแฟที่ดี เก็บและนำมาลอกเปลือก(Cherry) ออกด้วยมือ แช่น้ำไว้ไม่เกิน1คืน แล้วนำลงแปลงเพาะ ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการคลุมแปลงเพาะด้วยฟางเพื่อเก็บรักษาความชื้นให้คงที่เชื่อไหมครับว่าจะต้องรีบดำเนินการจนเสร็จสิ้นดังภาพ ภายใน 1 สัปดาห์ มิฉะนั้นเมล็ดพันธุ์กาแฟจะสูญเสียความงอก (หรืออัตราการงอก)เร็วมาก...
>>เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 45-50 วัน กล้ากาแฟจะเริ่มงอกพร้อมๆกัน จะนำฟางที่คลุมไว้ออก อย่าสำคัญผิดว่าเป็นถั่วงอกนะครับ... หัวตุ้มต้านบนซึ่งเป็นส่วนที่เรานำมาคั่วบริโภคนั้น ก็จะค่อยๆแปรสภาพกลายเป็นใบเลี้ยงระยะต่อไป...
>>เมื่อเวลาผ่านไปอีกประมาณ 5-7 วัน เราจะบรรจงถอนกล้ากาแฟอย่างนิ่มนวลเพื่อนำมาคัดว่าลูกๆของเรา ต้นไหนมีระบบรากที่ดีพอที่จะนำมาเป้นแม่พันธุ์ต่อไปได้... ทำไมหรือครับ... ระบบราก็มีเสมือนปากของคนนั่นเอง ระบบรากแก้วที่แข็งแรง(รากตรงไม่แตกแขนงดังห้าต้นด้านขวาของภาพ) จะช่วยพยุงลำต้นไม่ให้ล้มง่ายเมื่อติดผลดกหรือเมื่อถูกลมพายุ... ระบบรากที่อ่อนแอจะไม่สามารถรับน้ำหนักลำต้นได้อย่างเต็มที่ ต้นกาแฟจะล้มง่าย รากฝอยจะเดินไม่สะดวกและมีแนวโน้มที่จะวนผูกกันเอง ไม่ขยายออกนอกทรงพุ่มดังที่ควรจะเป็น... การคัดต้นกล้าในระยะนี้นับเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ในการทำสวนกาแฟประการหนึ่งเลยทีเดียว หากแต่การทำดังนี้ เป้นการสิ้นเปลืองแรงงานและต้นกล้าเป็นอย่างมาก (ต้องคัดทิ้งเสียมากกว่าครึ่ง) ไม่ค่อยมีผู้ใดทำเช่นนี้ มากนัก เมื่อก่อนนี้ที่สวนทศเทพก็ใช้วิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วไปคือ เก็บต้นกล้ากาแฟที่งอกเองบริเวณโคนต้น แต่เมื่อใช้วิธีคัดกล้าแบบนี้แล้ว ต้นกล้ากาแฟมีอัตรารอดสูงขึ้นมาก และผลผลิตต่อต้นก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน...
>>เมื่อคัดต้นกล้ากาแฟ ที่พึงประสงค์แล้ว ก็นำมาเพราะถุงชำซึ่งมีขนาดยาวและลึก เป็นทรงกระบอก ขนาดปากกว้าง 3 นิ้ว ลึก14 นิ้ว (ถุงดำขนาดพิเศษนี้ ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด ต้องสั่งทำขึ้นมาเป็นพิเศษ) เหตุผลที่ต้องใช้ถุงดำขนาดพิเศษนี้เพื่อบังคับให้รากแก้วงอกยาวตรงเป็นไม้บรรทัดไม่คดงอ หากถุงเพาะชำเป็นขนาดทั่วไปเมื่อรากกาแฟไปจนสุดก้นถุงกะจะเริ่มคดงอ การคัดต้นกล้าก็จะเป็นอันเสียเปล่าไป เราจะไม่มีการเปลี่ยนถุงจนกระทั่วปลูก เว้นแต่เก็บต้นกล้าไว้เกินกว่า 12 เดือน ซึ่งรากจะเต็มถุงก็อาจะเปลี่ยนถุงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
>>โรงบ่มเพาะต้นกาแฟคุณภาพที่เลือกสรรตั้งแต่คุณภาพของกล้าที่จะนำมาปลูก การผสมวัสดุปลูกด้วยกรรมวิธีระบบเกษตรอินทรีย์ ภาพนี้ในโรงเรือนเพาะชำ เราใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์(Springler) โดยให้หัวพ่นน้ำอยู่ด้านบน เมื่อเปิดหัวจ่ายน้ำก็เป็นเหมือนฝนตก หากวันไหนแดดจัดจะเห็นเป็นรุ้งกินน้ำสวยมากทีเดียวครับ (ต้นกล้ากาแฟที่เรียงรายในภาพนี้รวมๆ กันประมาณ 10,000 ต้นทีเดียว)
>>การนำกล้ากาแฟปลูกลงในแปลง ภาพนี้เป็นส่วนที่ทดลองปลูกในระยะห่าง 3 คูณ 3 เมตร (ซึ่งในปัจจุบันสวนทศเทพร่นระยะปลูกเหลือ 2.5 คูณ 2.5 เมตร) เราจะขุดหลุมขนาด กว้าง0.75 เมตรยาว 0.75 เมตร ทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดินแล้วจึงนำปุ๋ยคอกลงผสม ใส่ยากันปลวกเล็กน้อยคลุกเกล้าให้ทั่ว
>>เมื่อผสมดินกับวัสดุปลูกจนทั่วถึงกันแล้ว ก็จะนำกล้ากาแฟลงปลูกที่สวนทศเทพเราจะเริ่มปลูกกาแฟ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่ตายไป เพื่อทดแทนต้นกาแฟที่อายุมากและให้ผลผลิตไม่เต็มที่ หรือเพื่อขยายพื้นที่ปลูก
>>ภาพนี้เป็นภาพดอกกาแฟบาน ความหอมลึกซึ้งที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวหนังสือ
>>ภาพนี้เป็นภาพผลกาแฟดิบบ่มที่รวบรวมแร่ธาตุต่างๆ ในดินเป็นเวลา 10-12 เดือน